รวมวิธีขับรถให้ปลอดภัยและเคล็ดลับสอบใบขับขี่
รวมวิธีขับรถให้ปลอดภัยและเคล็ดลับสอบใบขับขี่
สำหรับช่วงเทศกาลหลายๆ เทศกาลนั้นทำให้หลายๆ คนตื่นเต้นที่จะได้หยุดยาวและได้วางแผนเพื่อออกท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลนี้กัน หลายคนเริ่มนำรถยนต์ของตนเองออกไปเช็กความเตรียมพร้อมก่อนออกเดินทางไกล แต่หลายๆคน ก็คงเห็นตามข่าวว่าเกิดอุบัติเหตุเยอะมาก เช่นกัน และสิ่งสำคัญที่สุดนอกจากจะเรื่องความพร้อมของรถยนต์แล้ว การขับรถยนต์ให้ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นก็สำคัญเช่นกัน แล้วเราจะขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย และเพื่อการเดินทางของคุณราบรื่นมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากคนไหนที่กำลังจะเป็นมือใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบใบขับขี่ให้ทันช่วงเทศกาล ในวันนี้ทาง โรงเรียนสอนขับรถศรีสะเกษ ของเราก็มีเคล็ดลับเกี่ยวกับการขับรถอย่างไรให้ปลอดภัย รวมไปถึงเคล็ดลับในการสอบใบขับขี่ให้ผ่านฉลุยมาบอกเช่นกัน รับรองว่านอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังได้ใบขับขี่ทันใช้สำหรับมือใหม่ด้วย
รวมวิธีขับรถให้ปลอดภัย
การขับขี่ที่ปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยทำให้เรารอดพ้นจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้ นอกจากนี้ ความเตรียมในเรื่องของยาพาหนะและสภาพร่างกายก็ยังสำคัญต่อการขับขี่ให้ปลอดภัยด้วย เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าวิธีขับรถให้ปลอดภัยมีอะไรบ้าง
- 1. มีสติอยู่เสมอ
สติเป็นสิ่งสำคัญในทุกขณะของการขับขี่ การมีสติสามารถช่วยชีวิตคุณได้และช่วยให้เลือกตอบสนองการตัดสินใจได้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่
- 2. สภาพแวดล้อมของรถก็สำคัญ
การให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม ประเภทของรถ และทักษะที่ใช้ อย่างมีสติและสมาธิของคุณเมื่ออยู่หลังพวงมาลัยจะช่วยให้คุณผ่านไปได้ทุกสถานการณ์
- 3. คาดการณ์กับสิ่งที่ไม่คาดคิดเสมอ
การได้ทำความเข้าใจภาพรวมของสภาพท้องถนนทำให้คุณสามารถมองเห็นเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และอาจจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากรถชนได้
- 4. ขับให้ช้าลง
การขับรถช้าและใช้ความเร็วที่เหมาะสมจะช่วยทำให้คุณมีเวลาและมีระยะห่างที่เพียงพอในการตอบสนองของสิ่งที่คุณอาจจะเจอได้
- 5. รู้ขีดจำกัดของคุณ
สำหรับสิ่งที่สำคัญที่สุดในการขับรถก็คือ การรู้ขีดจำกัดของร่างกายตนเองและหากรู้ว่าร่างกายเหนื่อยล้าและง่วงนอนจากการขับรถนาน ๆ แล้วก็ไม่ควรฝืนขับต่อไป
เคล็ดลับสอบใบขับขี่ให้ผ่านฉลุย
ผ่านไปแล้วกับแบบทดสอบข้อเขียนซึ่งถ้าได้มีการฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ ก็สามารถผ่านได้ฉลุยอย่างแน่นอน นอกเหนือจากนี้เราก็มีอีกเคล็ดลับการสอบใบขับขี่แบบฉบับเข้าใจง่ายมาช่วยในการเตรียมตัวสำหรับคนที่สอบใบขับขี่ครั้งแรกให้ง่ายขึ้นอีกด้วย
หลักเกณฑ์และเทคนิค ท่าที่ 1 ถอยหลังเทียบจอด มีดังต่อไปนี้
- ห้ามใช้เกิน 7 เกียร์ ซึ่งนับเกียร์แรกคือตอนเดินหน้าขึ้นมาตั้งลำตรง ดังนั้นจะเหลือเพียง 6 เกียร์สำหรับเดินหน้าและถอยหลังจอดให้อยู่ในกรอบแดง
- ขนาดกรอบ 4 เหลี่ยมที่จะให้จอดอยู่ภายในกรอบแดงนี้คือ 2.5X5 เมตร โดยมีกรอบ 2 ชั้น คือกรอบด้านนอกสีแดง สำหรับขนาดรถมาตรฐาน และกรอบสีเหลืองด้านใน สำหรับรถขนาดเล็ก เช่น Honda Jazz, Mini couper, Mazda 2 (รถจิ๋ว), Mitsubishi 1200 cc
- ด้านหน้าเหนือกรอบแดงนี้ ไกลออกไป 2.5 เมตรมีกำแพงสีส้มกั้นไว้ ส่วนด้านหลังเลยกรอบแดงไปเพียง 1 คืบมือ ก็มีกำแพงสีส้มกั้นไว้ ต้องไม่เฉี่ยวชน เพราะแค่ไปแตะถูกมันเบา ๆ ไม้ก็จะขยับแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะเห็น รตจิตรอยากให้เพื่อน ๆ อย่ากลัวกำแพงด้านหน้านี้มากนัก เพราะถ้าห่างมันมากจะไปชนกำแพงด้านหลัง หรืออาจทับกรอบ ซึ่งคนสอบตกกันเป็นจำนวนมาก
- เทคนิคการสอบภาคปฏิบัติให้ผ่าน ท่าที่ 1 = อย่ารีบร้อน ให้ใช้ความเร็วแบบต่ำสุด แนะนำให้ขับรถคันที่จะเอามาสอบบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน แล้วหมุนพวงมาลัยไปเรื่อย ๆ ตามความรู้สึก
หลักเกณฑ์การสอบท่าจอดรถเทียบทางเท้า(ท่าที่ 2)
ท่าที่ 2 คือ เลี้ยวซ้าย จอดชิดเทียบฟุตบาท ไม่เกิน 25 ซม.
- ผู้ขับต้องเลี้ยวซ้ายเทียบจอด ซึ่งไม่ต้องกังวลเพราะมุมฟุตบาทที่หัวเลี้ยวเป็นแบบมน ๆ
- ล้อต้องทับเส้นด้านซ้ายมือ ห่างจากฟุตบาทไม่เกิน 25 เซนติเมตร
- หน้ารถต้องอยู่ระหว่างเส้นสีขาว
- ขับให้ช้า ๆ เข้าไว้ เท้าแตะเบรคเบา ๆ แต่ห้ามหยุด เขย่งตัวดูด้านซ้ายมือว่าห่างจากฟุตบาทเท่าไร
- ห้ามเบียดฟุตบาท
- ถ้ากลัวเบียดมาก ก็ตีวงกว้าง ๆ จะได้มีที่พอเพื่อขับเฉียงเข้าเทียบจอด
เทคนิคการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ ถอยหลังตรง (ท่าที่ 3)
- เมื่อไปถึงที่ที่ให้เดินหน้าตรง ถอยหลังตรง ให้ตีวงกว้าง ๆ เพื่อไม่ให้เบียดหลัก
- ขับเข้าไปจนกว่าล้อหลังจะพ้นเส้น แล้วค่อยถอยหลัง
- ถอยจนล้อหน้าพ้นเส้น แล้วค่อยหักพวงมาลัยเลี้ยว
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนสอบใบขับขี่
หลังจากได้เตรียมพร้อมในเรื่องการสอบใบขับขี่ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงการเตรียมพร้อมเพื่อการสอบใบขับขี่ในสนามจริง ไปดูกันดีกว่าค่ะว่าต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง
1.จองวันสอบก่อนล่วงหน้า
ก่อนอื่นจะต้องทำการจองวันสอบก่อนที่สำนักงานขนส่งทางบก ซึ่งมีสำนักงานในเขตกรุงเทพฯ ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานขนส่งพื้นที่เขต 1 (บางขุนเทียน) , สำนักงานขนส่งพื้นที่เขต 2 (ตลิ่งชัน) , สำนักงานขนส่งพื้นที่เขต 3 (สุขุมวิท 62) , สำนักงานพื้นที่ขนส่ง เขต 4 (หนองจอก) และสำนักงานใหญ่พื้นที่ 5 (จตุจักร) ส่วนในเขตต่างจังหวัดก็สามารถหาจองได้ที่สำนักงานขนส่งต่างจังหวัดได้เช่นกันครับ โดยวิธีการจองนั้นมี 3 ช่องทางง่ายๆ ดังนี้
- จองคิวอบรมด้วยตัวเองที่กรมขนส่ง (สาขาใกล้บ้านหรือตามสะดวก)
- โทรจองคิวผ่านทางโทรศัพท์ เบอร์ 02-2718888 หรือเบอร์ 1584
- ยื่นจองคิวสอบใบขับขี่รถยนต์ออนไลน์ได้ด้วย
- จองคิวสอบใบขับขี่กับเอกชน (ที่ผ่านการรับรองจากกรมขนส่งทางบก)
2.นำเอกสารที่ต้องใช้ไปให้ครบ
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเอกสารสำคัญ และยังจำเป็นต้องยื่นเอกสารเหล่านี้ให้กับเจ้าหน้าที่ในวันสอบจริงอีกด้วย ซึ่งเอกสารที่จะต้องเตรียมนั้นได้แก่ บัตรประชาชนตัวจริง สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน (จากคลินิก หรือโรงพยาบาลก็ได้) ใบรับรองการอบรม (กรณีอบรมนอกกรมขนส่ง)
** สำหรับชาวต่างชาติ (ไม่มีบัตรประชาชน) ให้ยืนใบสำคัญบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง Passport พร้อมสำเนาถูกต้อง
3.เตรียมร่างกายให้พร้อม
อย่าลืมเตรียมร่างกายของคุณให้พร้อมก่อนสอบ ซึ่งถ้าหากเกิดป่วยวันสอบขึ้นมา เนื่องจากนอนไม่เพียงพอหรืออาการต่าง ๆ ก็อาจทำให้คุณสูญเสียสมาธิในการทำข้อสอบได้ และนอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อการสอบสมรรถนะทางร่างกายได้ เช่น ทดสอบการมองเห็น ทดสอบสายตาทางลึก ทดสอบสายตาทางกว้าง และทดสอบปฏิกิริยาเท้า
4.อย่าลืมเตรียมรถไปสอบด้วย
การที่นำรถของตนเองมาสอบจะช่วยลดความประหม่าและการสอบผิดท่าได้ ดังนั้นก่อนการสอบจึงจะต้องทำการตรวจสอบรถยนต์ให้ได้ และทำการเช็กอุปกรณ์ในรถให้เรียบร้อย เพื่อช่วยให้เกิดความเคยชินมากขึ้นก่อนการสอบวันจริง แต่ถ้าหากใครที่ไม่มีรถก็สามารถเช่ารถขับสอบที่กรมขนส่งทางบกได้ ซึ่งมีการคิดค่าเช่ารอบละ 100 บาท โดยมีเกียร์สองแบบให้เลือก คือ เกียร์ธรรมดาและเกียร์ออโต้
- 5. เตรียมเงินค่าธรรมเนียมทำใบขับขี่
หลังจากการสอบภาคทฤษฎีผ่านแล้ว เราก็จะได้เอกสารในการทำใบขับขี่มา โดยอัตราค่าธรรมเนียมใบขับขี่แต่ละประเภทจะต่างกัน และจะมีค่าคำขอเพิ่มขึ้นด้วย
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว อายุ 2 ปี ค่าธรรมเนียม 200 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวมเป็นเงิน 205 บาท
- ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว อายุ 2 ปี ค่าธรรมเนียม 100 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวมเป็นเงิน 105 บาท
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล อายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 500 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวมเป็นเงิน 505 บาท
- ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล อายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท รวมเป็นเงิน 255 บาท
***สำหรับใครที่อยากได้บัตรพลาสติกสำหรับใส่ใบขับขี่ ก็ให้เตรียมเพิ่มอีก 100 บาทด้วยค่ะ***
หวังว่าหลาย ๆ คนคงเริ่มมั่นใจในการขับรถและการสอบใบขับขี่มากขึ้นด้วย อย่างไรก็อย่าลืมเตรียมความพร้อมในการเดินทางไกลสำหรับหยุดยาวที่จะถึงนี้ด้วยการเช็กความพร้อมของเครื่องยนต์และเตรียมความพร้อมสภาพร่างกาย เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและถ้าขับไปสักพักแล้วรู้สึกล้าก็อย่าลืมแวะจอดที่ปลอดภัยเพื่อพักผ่อนก่อนเริ่มเดินทางอีกครั้งนะคะ